จากการตรวจสอบข้อมูลทางด้านข้อกฎหมายต่างๆ แต่พบว่าในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้มีการกำหนดว่าการเอาชื่อบุคคล หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับบุคคลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตถือว่าเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 บัญญัติว่า
“ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
นอกจากนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม มาตรา 326
“การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่ 3 โดยทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง โดยกฎหมายอาญา มาตรา 326 บัญญัติว่า ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท”
และในมาตรา 328 ยังระบุอีกว่า
“ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท”
อย่างไรก็ตาม…การเอาผิดทางอาญาต้องมีการแจ้งความจากผู้เสียหายอย่างชัดเจน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดต่อไป
นอกจากนี้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 ยังมีการระบุความผิดในฐานเผยแพร่ข้อมูลเท็จสร้างความเสียหายให้กับประชาชน รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลเท็จนั้นด้วย โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แหล่งที่มา : https://www.amarintv.com/news-update/news-20447/391015/
11 ก.พ. 2563
เข้าชม : 3.48 พัน